วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Basic Linux Accouting : Part I

เราควรจะทำอะไรเป็นบ้างเมื่อได้เรียนบทนี้

  1. มีความเข้าใจ Accounting ในระบบ Linux
  2. สามารถอธิบายการ Add user เข้า Group ได้
  3. สามารถอธิบายการ Swtich User
  4. มีความเข้าใจการใช้งาน VI
  5. ใช้งาน Remote อย่าง Putty และโปรแกรมอื่นๆได้
  6. จัดการข้อมูลรายละเอียดของ user ได้
  7. กำหนด user ให้ทำงานคำสั่งบางคำสั่งด้วย visudo ได้
  8. สามารถบริหารจัดการ Disk Quota ให้กับ user
  9. มีความเข้าใจในการใช้ sshd (deamon)
  10. มีความเข้าใจและใช้งาน Package ของ Linux

ก่อนอื่นให้ตรวจสอบก่อนว่าเครื่องเราสามารถใช้งาน Network ได้หรือไม่ให้พิมพ์ Cat ดูไฟล์ Config ของ Network ด้วยคำสั่ง cat /etc/sysconfig/network-script/ifcfg-eth0 จะปรากฏรายละเอียดของอุปกรณ์การ์ดเน็ตเวิร์ค ถ้า bootproto=dhcp หมายถึงให้เป็นการจ่าย ip อัตโนมัติ

นอกจากนี้เรายังใช้คำสั่ง ifconfig เพื่อดู config ของ interface card ได้ถ้า network ไม่ workเราสามารถ พิมพ์ setup เพื่อกำหนดค่าของ network ได้หรือจะใช้คำสั่ง system-config-network-tui ต่อมา จะเป็นการใช้ putty ในการ connect ก็แค่ใส่ ip ที่ hostname connect ด้วย port 22 ตัว putty จะเป็น Remote Desktop Connection ใน Linux

การ add user และ group

Linux นั้นถูกพัฒนาจาก Unix ซึ่งมีการใช้งานได้หลาย user บนเครื่องเดียวโดยมี root เป็น user ที่มีสิทธิ์ในการควบคุมระบบได้อย่างเต็มที่ โดยจะมีไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีรายชื่อผู้ใช้อยู่ 3 ไฟล์คือ

  1. /etc/passwd เก็บข้อมูลพื้นฐานของ user 7 คอลัมน์
  2. /etc/shadow เก็บรหัสผ่านของ user แต่ละคนโดยมีการ encrypted
  3. /etc/group เก็บรายชื่อกลุ่มไว้ มี 4 คอลัมน์

/etc/passwd

Username : Password : UID : GID : Description : Home Directory : Shell

username ชื่อ userในระบบ
password รหัสผ่านในที่นี้เป็น x
UID เป็นหมายเลข user ซึ่งไม่ซ้ำกันของ root เป็น 0 ถ้าสร้างใหม่จะมีตัวเลข 1000 ขึ้นไป
GID เป็นหมายเลข group อ้างอิงกับไฟล์ /etc/group
Description รายละเอียดของ user เราสามารถดูได้จากคำสั่ง finger <ชื่อผู้ใช้>
Home Directory เป็นคอลัมน์ที่กำหนดให้ user เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ระบบโดยมีสิทธิ์เต็มที่
Shell เชลล์เริ่มต้นของ user

/etc/shadow

Username : Password : Lastchg : Min : Max : Warn : Inactive : Expire : Flag

Lastchg บอกว่าเปลี่ยนรหัสผ่านล่าสุดเมื่อใด
Min จำนวนวันน้อยที่สุดที่อนุญาติให้เปลี่ยนรหัสผ่าน
Max จำนวนวันมากที่สุดที่รหัสผ่านยังใช้ได้
Warn จำนวนวันที่จะเตือน user ก่อนรหัสผ่านจะหมดอายุ
Inactive จำนวนวันที่อนุญาตให้ user ไม่ต้องปรับเปลี่ยน
Expire จำนวนวันหมดอายุของรหัสผ่าน

/etc/group

Group name : Password : GID : Members

Password รหัสผ่านของกลุ่มไม่ค่อยได้ใช้
Members เป็นสมาชิกที่อยู่ในกลุ่ม

คำสั่ง add user

useradd [-c comment] [-d home_dir] [-e expire_date] [-f inactive_time][-g initial_group] [-G group[,...]][-m [-k skeleton_dir] -M] [-n] [-o] [-p passwd] [-r] [-s shell] [-u uid] login

adduser -u 5001 -g 5000 arn
-u 5001 คือการกำหนด UID ให้เป็น 5001
-g 5000 คือการกำหนด GID ให้เป็น 5000 หมายความว่า user เข้าอยู่ใน group ที่มี gid=5000
arn เป็นชื่อผู้ใช้

อ.มีคำถามว่า การ add user โดยไม่ใส่ uid,gid นั้นไม่ดีอย่างไร ?
เท่าที่ไปดูมาในไฟล์ /etc/passwd และ etc/group
ได้ผลคือ

  1. user จะได้ uid ถัดจาก uid มากที่สุด
  2. จะนำ uid นั้นไปสร้าง group ชื่อเดียวกันกับ user
  3. มี gid=uid

การ Switch User

เราสามารถสลับ user ในการทำงานด้วยคำสั่ง su [-][username]
โดยค่าเริ่มต้นแล้วถ้าไม่ใส่ username หมายความว่าจะ switch ไปที่ root

อ.มีคำถามว่าคำสั่ง "su" กับ "su -" นั้นแตกต่างกันอย่างไร?

คำสั่ง su นั้นจะ switch user ธรรมดาแต่ถ้ามี "-", "-l", "--login" จะเปรียบเสมือน login ด้วย user นั้นจริงๆ ดังนั้นจะได้ environment ของ user นั้น สังเกตจากการอ่านไฟล์ .bash_profile ของ account หลังจาก login

การ switch user นั้นเราสามารถกำหนดค่าได้ว่าให้ user ใดที่ su ได้บ้าง และ ให้ถาม password หลังจาก su หรือไม่ โดยไปแก้ไขที่ไฟล์ /etc/group และ /etc/pam.d/su มีขั้นตอนดังนี้

  1. กำหนดให้ user ในกลุ่ม wheel เท่านั้นที่สามารถใช้ su ได้ ไปที่ไฟล์ /etc/group ทำการ add user ที่ต้องผ่าน VI แล้วไปที่ File /etc/pam.d/su เอานำ comment บรรทัดอยู่ถัดจาก
    # Uncomment the following line to require a user to be in the "wheel" group.
    auth required /lib/security/pam_wheel.so use_uid
  2. กำหนดให้ user ไม่ต้องใส่ password หลังจาก su ให้นำ comment บรรทัดที่อยู่ถัดจาก
    #Uncomment the following line to implicitly trust users in the "wheel" group.
    auth sufficient /lib/security/pam_wheel.so trust use_uid
    เป็นการไว้วางใจ user ที่อยู่ใน group wheel ให้ su ได้โดยไม่ต้องกรอก password

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Managing and Challenge in a Globalization

อ.กล่าวถึง Andrea Jung ผู้หญิงที่เป็น CEO ของ AVON เป็นตัวอย่างของผู้จัดการสมัยใหม่ โดยมี 4 ปัจจัยเป็นเป้าหมายในการบริหาร
  1. การเปลี่ยนแปลงและเป้าหมายที่ท้าทาย (Change and Challenge Goals) โดยพยายามจูงใจบุคคลให้พยายามเอาชนะอุปสรรคและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2. ความเร็ว ทีมเวิร์ค และความยืดหยุ่น (Speed, Teamwork and Flexibility) สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการการบริหาร ทั้งในมุมมองของกลยุทธ์และการปฏิบัติ
  3. ผู้บริหารทุกระดับขององค์กรจำเป็นต้องใกล้ชิดกับลูกค้า คุณภาพของสินค้าและการบริการ เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ
  4. หากปราศจากการปรับปรุงตลอดเวลาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Continuous Improvement and Lifelong Learning) ก็ไม่มีความก้าวหน้า

Management is science or art?

การจัดการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่สนับสนุนกัน โดยการปฏิบัตินั้นถือได้ว่าเป็นศิลป์ส่วนความรู้ที่เป็นระบบซึ่งอยู่เบื้องหลังในการปฏิบัตินั้นถือเป็นศาสตร์
ความหมายของการบริหารคือกระบวนการของการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัตถุประสงค์/เป้าหมาย ขององค์กรอย่างมีประสิทธิผลโดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องมีธรรมาภิบาล จริยธรรมที่ดี ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและในเวลาที่สับสนวุ่นวาย

(management is the process of working with and through others in order to effectively bring about results in organizational vision mission value objective/goals and target by using the limited resources efficiency and above all must have a good governance and ethics/social responsibility in a rapidly changing environment and a turbulent time)

การบริหารจัดการมี 6 ส่วนสำคัญ คือ

  1. การทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือโดยผ่านผู้อื่น
  2. สัมฤทธิ์ผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม วัตถุประสงค์/เป้าหมาย เป้า องค์กร
  3. มีความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
  4. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
  5. มีธรรมาภิบาล จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
  6. บริหารจัดการกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ ในช่วงที่สับสนวุ่นวาย

วิสัยทัศน์(Vision : what do we want to become?)
เป็นภาพในอนาคตอธิบายถึงสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น แต่ละองค์กรจะต้องมีคำประกาศวิสัยทัศน์ (The vision statement) เพื่อแสดงว่าอะไรที่องค์กรควรจะเป็น (What the organization should become?) และที่ใดที่องค์กรจะไปเชิงกลยุทธ์ (Where it wants to go strategically?)

ตัวอย่าง

Ebay Vision : เป็นตลาดออนไลน์ระดับโลก เพื่อให้ทั้งบุคคลและธุรกิจขายสินค้าบริการ ของตนเอง

DELL Vision : นำคุณค่าสู่ลุกค้าและเพิ่มคุณค่าแก่บริษัทของเรา เพื่อนบ้านของเรา ชุมชนของเรา และ โลกของเรา โดยผ่านความหลากหลาย การเอาใช้ใส่ต่อสภาพแวดล้อมและกิจกรรมริเริ่มใหม่ๆ ในฐานะเป็นพลเมืองของโลก

พันธกิจ (Mission)
คือจุดมุ่งหมาย หรือ เหตุผล ของการดำรงอยู่หรือกำเนิดขึ้นขององค์กร (What is our reason for being or organization’s purpose or reason for existing) “มีแต่คำนิยามของพันธกิจ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเท่านั้น องค์กรจึงจะสามารถทำให้วัตถุประสงค์ ชัดแจ้ง และเป็นจริง ได้”
คำประกาศพันธกิจ (The Mission Statement) คือ การแสดงจุดมุ่งหมายขององค์กร (express the purpose of the organization)

ตัวอย่าง
อีเบย์ (eBay): ให้สถานที่ทำการค้าขายระดับโลก ที่ซึ่ง ทุกคนสามารถค้าขายทุกสิ่งทุกอย่างได้
เดล คอมพิวเตอร์ (Dell Computer): เป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ในโลก โดยการ ส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า ในตลาดที่เราให้บริการ

ค่านิยม (Value)

วัตถุประสงค์ (Objective)


เป้าหมาย(Goals)

เป้า (Target)
การบริหารใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (Managing Under Limited Resources)

ความมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness and Efficiency)

จบบทนี้แล้วควรจะทราบอะไรบ้าง

การบริหารคืออะไร การบริหารแนวใหม่เป็นอย่างไร
เข้าใจ vision,mission,values,objective,goals,target,Effectiveness,Efficiency
เข้าใจ ธรรมาภิบาล,จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม
เข้าใจ องค์กรและบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร